แอนนา คาเรนิน่า
แอนนา คาเรนิน่า (Anna Karenina) เป็นนวนิยายเรื่องเอกของนักประพันธ์ชาวรัสเซีย ลีโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) พิมพ์เป็นหนังสือครั้งแรกหนังสือในปี 1878 นักเขียนหลายคนคิดว่าแอนนา คาเรนิน่าเป็นงานวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา และตอลสตอยเองก็เรียกมันว่านวนิยายเรื่องแรกของเขา
นวนิยายเรื่องยาวเรื่องนี้ มีตัวละครหลักมากมายและเป็นนวนิยายที่มีจำนวนหน้ามากกว่า 800 หน้า เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการทรยศ, ความศรัทธา, ครอบครัว, การแต่งงาน, สังคมของจักรวรรดิรัสเซีย, ความปรารถนาและชีวิตในชนบทกับชีวิตในเมือง หลักของนวนิยายเรื่องนี้มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ที่มีการนอกใจระหว่างแอนนาและเคานต์อเล็กไซ คิริลโลวิช วรอนสกี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลซึ่งสร้างความอื้อฉาวในวงสังคมของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
การเคลื่อนที่รถไฟเป็นภาพที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ตลอดนวนิยายเรื่องนี้ ฉากหลังของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมอันเป็นผลมาจากการปฏิรูปเสรีที่ริเริ่มโดยจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย โดยมีจุดสำคัญหลายจุดเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นบนรถไฟโดยสารหรือที่สถานีในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก หรือที่อื่นๆ ในรัสเซีย
นวนิยายเรื่องนี้ได้รับการดัดแปลงเป็นสื่อต่าง ๆ รวมถึงการแสดงในโรงละครโอเปร่า, ภาพยนตร์, ภาพยนตร์โทรทัศน์, บัลเล่ต์, สเก็ตลีลาและละครวิทยุ
แอนนา คาเรนินา เป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่แต่งงานแล้วกับคาเรนินสามีของเธอที่มีอายุมากกว่าเธอถึง 20 ปี เขาเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซีย แอนนามีความสัมพันธ์ที่ผิดศีลธรรมกับเคานต์วรอนสกี้ผู้ร่ำรวย เรื่องราวของพวกเขาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของนวนิยาย
เรื่องราวเริ่มต้นเมื่อแอนนาเดินทางโดยรถไฟจากเซนต์ปีเตอร์เบิร์กมาถึงมอสโคว์เพื่อมาเยี่ยมและมาประสานความแตกแยกในครอบครัวของเจ้าชายสเตฟาน โอบรอนสกี้พี่ชายของเธอ ซึ่งนอกใจภรรยาและมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงโดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ โอบรอนสกี้มีภรรยาคือเจ้าหญิงดายา อเล็กซานดรอฟน่าหรือดอลลี่
ในขณะเดียวกันคอนแสตนติน เลวินเพื่อนตั้งแต่วัยเด็กของโอบรอนสกี้เดินทางมา มอสโคว์เช่นกันเพื่อขอแต่งงานกับเจ้าหญิงแคทาริน่า อเล็กซานดอฟน่าหรือคิตตี้ น้องสาวของ ดอลลี่ เลวินเป็นเจ้าของที่ดินในชนบท เลวินทราบว่ามีบุคคลอีกผู้หนึ่งที่ให้ความสนใจคิตตี้ คือเคาท์อเล็กไซ วรอนสกี้ซึ่งเป็นนายทหาร แต่เมื่อวรอนสกี้พบแอนนาครั้งแรกและมีโอกาสได้ ใกล้ชิดเธอที่สถานีรถไฟเขาชอบแอนนาในทันที
ในงานบอลล์ คิตตี้มีใจให้กับวรอนสกี้ตั้งแต่แรกพบเขา ดังนั้นเมื่อเลวินมาขอเธอแต่งงานเธอจึงปฏิเสธ แต่เมื่อคิตตึ้ทราบว่าวรอนสกี้สนใจในแอนนามากกว่าเธอจึงชอกช้ำใจ ขณะเดียวกันวรอนสกี้พยายามที่จะใกล้ชิดแอนนา โดยเดินทางไปเซนต์ปีเตอร์เบิร์กกับเธอและบอกรักเธอบนรถไฟ แอนนาปฏิเสธแม้ว่าเธอจะประทับใจในตัวเขา
เมื่อถูกปฏิเสธจากคิตตี้ เลวินก็ล้มเลิกความตั้งใจที่จะแต่งงานและกลับไปทำงานที่ฟาร์มของเขา ส่วนแอนนากลับไปพบคาเรนินสามีและเชอร์ยอชาลูกชายของเธอ
ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก วรอนสกี้ยังคงตามตื้อแอนนา แม้ว่าเธอจะพยายามปฏิเสธเขาในตอนแรก แต่ในที่สุดเธอก็ยอมจำนนต่อความตั้งใจของเขาและเริ่มมีความสัมพันธ์กัน ในขณะเดียวกันคาเรนินเตือนภรรยาของเขาถึงความไม่เหมาะสมของการให้ความสำคัญกับ วรอนสกี้ในที่สาธารณะมากเกินไปซึ่งกลายเป็นประเด็นซุบซิบในสังคม เขากังวลเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของทั้งคู่ แม้ว่าเขาจะไม่เชื่อว่าแอนนาจะประพฤตินอกใจเขา
เลวินยังคงทำงานในที่ดินของเขาและหมกมุ่นกับความคิดและการต่อสู้ทางวิญญาณของเขา เขาพัฒนาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและความสัมพันธ์ที่เป็นเอกลักษณ์ระหว่างคนงานเกษตรกรรมกับดินแดนและวัฒนธรรมดั้งเดิมของเขา เขาเชื่อว่าการปฏิรูปการเกษตรของยุโรปจะไม่ได้ผลในรัสเซียเนื่องจากวัฒนธรรมและบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนารัสเซีย
เลวินตัดสินใจที่จะลืมคิตตี้และพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะแต่งงานกับหญิงชาวนา อย่างไรก็ตามการได้เห็นคิตตี้ในรถม้าของเธอทำให้เลวินรู้ว่าเขายังรักเธอ ในขณะเดียวกันในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคาเรนินปฏิเสธที่จะหย่าขาดจากแอนนา เขาขู่ว่าจะพาเซอร์ยอชาไปหากเธอยังคงมีความสัมพันธ์กับวรอนสกี้
เมื่อแอนนาและวรอนสกี้ยังคงพบกัน คาเรนินจึงปรึกษากับทนายความเกี่ยวกับการหย่าร้าง ในช่วงเวลานั้นการหย่าร้างในรัสเซียฝ่ายที่บริสุทธิ์จากความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวเท่านั้นที่จะร้องขอได้และกำหนดให้ฝ่ายที่มีความผิดสารภาพ ซึ่งจะทำลายสถานะทางสังคมของแอนนาและห้ามไม่ให้เธอแต่งงานใหม่ตามระเบียบในคริสตจักรออร์โธดอกซ์ คาเรนินบังคับให้แอนนาส่งจดหมายรักบางฉบับของวรอนสกี้มาให้ แต่ทนายความเห็นว่าไม่เพียงพอในการพิสูจน์ความสัมพันธ์
คาเรนินเปลี่ยนแผนหลังจากได้ยินว่าแอนนากำลังจะตายหลังจากคลอดลูกสาวชื่อแอนนี่อย่างยากลำบาก คาเรนินให้อภัยวรอนสกี้ที่ข้างเตียง อย่างไรก็ตามวรอนสกี้อับอายกับความใจกว้างของคาเรนิน เขาพยายามฆ่าตัวตายด้วยการยิงตัวเองแต่ไม่สำเร็จ เมื่อแอนนาฟื้นขึ้นมาเธอก็พบว่าเธอไม่สามารถทนอยู่กับคาเรนินได้แม้ว่าเขาจะให้อภัยและผูกพันกับแอนนี่ก็ตาม
แอนนาและวรอนสกี้กลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้งและหนีไปยุโรปโดยทิ้งข้อเสนอเรื่องการหย่าร้างของคาเรนิน ในขณะเดียวกันโอบรอนสกี้ทำหน้าที่เป็นพ่อสื่อให้กับเลวินและคิดตี้ส่งผลให้ทั้งสองกลับมาคืนดีและหมั้นกัน
เลวินและคิตตี้แต่งงานและเริ่มต้นชีวิตใหม่ในที่ดินในชนบทของเขา แม้ว่าทั้งคู่จะมีความสุข แต่พวกเขาก็ผ่านช่วงสามเดือนแรกของการแต่งงานที่ขมขื่นและตึงเครียด เลวินได้ทราบว่า นิโคไลพี่ชายของเขากำลังจะตาย คิตตี้เสนอที่จะร่วมเดินทางไปกับเลวินเพื่อไปพบ นิโคไลและพิสูจน์ตัวเองว่าสามารถช่วยเหลือนิโคไลได้ เมื่อเห็นภรรยาของเขาดูแลสถานการณ์อย่างมีความสามารถมากกว่าที่เขาจะทำได้โดยไม่มีเธอ ความรักของเลวินที่มีต่อคิตตี้ก็เติบโตขึ้น ในที่สุดคิตตี้ก็ท้อง
ในยุโรปวรอนสกี้และแอนนาพยายามหาเพื่อนที่จะยอมรับพวกเขา ในขณะที่แอนนามีความสุขที่ได้อยู่ตามลำพังกับวรอนสกี้ แต่เขากลับรู้สึกอีดอัด ทั้งสองไม่สามารถเข้าสังคมกับชาวรัสเซียในชนชั้นเดียวกันได้และพบว่ามันยากที่จะทำตัวให้สนุกกับมัน วรอนสกี้เคยเชื่อว่าการอยู่กับแอนนาเป็นกุญแจสู่ความสุข แต่เขาพบว่าตัวเองเบื่อและไม่พอใจมากขึ้น แอนนาและวรอนสกีตัดสินใจกลับรัสเซียอย่างไร้ความสุข
ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กแอนนาและวรอนสกี้เข้าพักในโรงแรมที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง แต่แยกห้องนอน เห็นได้ชัดว่าในขณะที่วรอนสกี้ยังคงสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระในสังคมรัสเซียแต่แอนนาถูกกันออกไป แอนนาเริ่มกังวลว่าวรอนสกี้ไม่รักเธออีกต่อไป ในขณะเดียวกันคาเรนินได้รับการปลอบโยนจากเคาน์เตสลิเดีย อีวานอฟนาผู้หลงใหลในความคิดทางศาสนาลึกลับที่เป็นที่นิยมของชนชั้นสูง เธอแนะนำให้เขาอยู่ห่างจากแอนนา และให้บอกเซอร์ยอชาว่าแม่ของเขาตายแล้ว อย่างไรก็ตามเซอร์ยอชาปฏิเสธที่จะเชื่อว่านี่เป็นความจริง แอนนาไปเยี่ยมเซอร์ยอชาโดยไม่ได้รับเชิญในวันเกิดปีที่เก้าของเขา แต่ถูกกีดกันโดยคาเรนิน
แอนนาหมดหวังที่จะกลับมาเข้าในสังคมอย่างน้อยก็เข้าร่วมชมการแสดงที่โรงละครซึ่งเป็นที่รวมของบุคคลในสังคมชั้นสูงของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก วรอนสกี้ขอร้องไม่ให้เธอไป แต่เขาไม่สามารถอธิบายให้เธอฟังได้ว่าทำไมเธอถึงไม่สามารถไปร่วมงานได้ ที่โรงละครแอนนาถูกเพื่อนเก่าดูแคลนอย่างเปิดเผย แอนนาเสียใจมากไม่สามารถหาสถานที่สำหรับตัวเองใน เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก แอนนาและวรอนสกี้ออกเดินทางไปยังที่ดินในชนบทของเขา
แอนนาเริ่มไม่พอใจวรอนสกี้มากขึ้นและทนไม่ได้เมื่อเขาจากเธอไปแม้จะไปเที่ยวระยะสั้น ๆ เมื่อวรอนสกี้เสร็จจากการเลือกตั้งระดับจังหวัดเป็นเวลาหลายวัน แอนนาเริ่มเชื่อมั่นว่าเธอต้องแต่งงานกับเขาเพื่อป้องกันไม่ให้เขาทิ้งเธอ หลังจากแอนนาเขียนถึงคาเรนิน เธอและวรอนสกี้ก็ออกจากชนบทตรงไปมอสโคว์ทันที
ความสัมพันธ์ของแอนนากับวรอนสกี้อยู่ภายใต้ความเครียดที่เพิ่มขึ้น ความขมขื่นความเบื่อหน่ายและความหึงหวงที่เพิ่มขึ้นของเธอทำให้ทั้งคู่ทะเลาะกัน แอนนาใช้มอร์ฟีนเพื่อช่วยในการนอนหลับซึ่งเป็นกิจกรรมปกติที่เธอเริ่มต้นใช้ในขณะที่อยู่กับวรอนสกี้ที่ที่ดินในชนบทของเขา เธอต้องพึ่งพามัน
ในขณะเดียวกันหลังจากตรากตรำทำงานหนักมานานคิตตี้ก็ให้กำเนิดบุตรชายชื่อดมิตรีและมีชื่อเล่นว่ามิทยา เลวินทั้งหวาดกลัวและสะเทือนใจอย่างมากเมื่อเห็นทารกตัวเล็ก ๆ ที่ทำอะไรไม่ถูก
โอบรอนสกี้ไปเยี่ยมคาเรนินเขาขอให้คาเรนินยอมหย่ากับแอนนา แต่โดยการถูกครอบงำจากเคาน์เตสลิเดีย อีวานอฟนา คาเรนินปฏิเสธ
แอนนาเริ่มหึงวรอนสกี้อย่างไม่มีเหตุผลมากขึ้น เธอสงสัยว่าเขามีความรักกับผู้หญิงคนอื่น และเขาจะยอมตามความตั้งใจของแม่ที่จะแต่งงานกับผู้หญิงอื่นในสังคมชั้นสูง แอนนาขมขื่นและเชื่อว่าความสัมพันธ์จบลงแล้ว เธอเริ่มคิดว่าการฆ่าตัวตายเป็นการหลบหนีจากความทรมานของเธอ ในความสับสนทางจิตใจและอารมณ์ เธอส่งโทรเลขไปยังวรอนสกี้เพื่อขอให้เขากลับบ้าน จากนั้นไปเยี่ยมดอลลี่และคิตตี้ ความสับสนและความโกรธของแอนนาเอาชนะตัวเธอได้ เธอฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงไปในรางรถไฟขณะที่รถไฟกำลังแล่นมา
คาเรนินดูแลแอนนี่ลูกของวรอนสกี้และแอนนา ส่วนวรอนสกี้และอาสาสมัครชาวรัสเซีย กลุ่มหนึ่งเสียชีวิตเพื่อการสู้รบในการประท้วงของเซอร์เบียออร์โธดอกซ์ที่แตกออกจากพวกเติร์กซึ่งขยายต่อมามากขึ้นเป็นสงครามรัสเซียและตุรกี
เลวินได้ข้อสรุปว่าแม้เขาจะมีความเชื่อใหม่ แต่เขาก็เป็นมนุษย์และจะทำผิดต่อไป ตอนนี้ชีวิตของเขาสามารถมุ่งไปสู่ความชอบธรรมได้อย่างมีความหมายและตรงไปตรงมา
วิธีการเขียนของตอลสตอยในแอนนา คาเรนินาได้รับการวิจารณ์จากหลายคนว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านซึ่งเป็นสะพานเชื่อมระหว่างนวนิยายแนวสัจนิยมและสมัยใหม่
แอนนา คาเรนินา คือนวนิยายที่สะท้อนความหน้าซื่อใจคด, ความอิจฉาริษยา, ความศรัทธา, ความซื่อสัตย์, ครอบครัว, การแต่งงาน, สังคม, ความก้าวหน้า, ความปรารถนาทางกามารมณ์และความหลงใหลและวิถีชีวิตเจ้าของที่ดินในชนบทที่ตรงกันข้ามกับวิถีชีวิตของสังคมเมือง
โรสแมรี เอ็ดมันด์ผู้แปลนวนิยายเรื่องนี้เขียนว่า ตอลสตอยไม่ได้แสดงออกถึงศีลธรรมอย่างชัดเจนในหนังสือเล่มนี้ แต่กลับปล่อยให้ธีมของเรื่องเกิดขึ้นตามธรรมชาติจากภาพอันกว้างใหญ่ของชีวิตชาวรัสเซีย นอกจากนี้เธอยังกล่าวอีกว่าหนึ่งในข้อความสำคัญของนวนิยายเรื่องนี้คือ “ไม่มีใครสามารถสร้างความสุขให้กับความเจ็บปวดของอีกคนได้”